ประวัติของผ้าบาติก


                                                

  


    ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
      คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำ  ว่า ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำ ว่าบาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
   วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน ( wax-writing ) ดังนั้นผ้าบาติก จึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตามแต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือจะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก
 
แหล่งกำเนิด
 
   แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย อีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย   แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่นๆ ทั้งอียิปต์ อินเดียและญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่าผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซียและยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติกเป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซียสีที่ใช้ย้อมกันก็มาจากพืชในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกัน ในอินโดนีเซีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron  นักประวัติศาสตร์ชาวดัตซ์ก็สรุปไว้ว่า การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย   จากการศึกษาของบุคคลต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า  วิธีการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยังชาติอื่นๆส่วนการทำผ้าโสร่งบาติก

 

วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย
 

                การทำผ้าบาติกในระยะเวลาแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง  หรือทำเฉพาะในวัง  แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า  น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ  ผู้ที่ทำผ้าบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา

 

 ลักษณะเด่นของผ้าบาติก
 

            ความโดดเด่นของผ้าบาติกอยู่ที่สีและลวดลายอันคมชัดของภาพที่สามารถบอกอะไรได้หลายอย่างทั้งถิ่นที่มา วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ธรรมชาติ เอกลักษณ์ของแหล่งผลิต หรือกระทั่งความรู้สึกนึกคิดของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนอยู่หลายกระบวนการทั้งพิมพ์เทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสี 
     บาติกจึงมีลักษณะที่เป็นได้ทั้งงานหัตถอุตสากรรมและงานศิลปะ
ที่เกิดขึ้นจากการเขียนลวดลายตามที่ผู้ผลิตต้องการลงบนผืนผ้าด้วยดินสอแล้วใช้ปากกาเขียนเทียนจันติ้ง (Tjanting) จุ่มน้ำเทียนเขียนไปตามลวดลายเพื่อให้น้ำเทียนนี้เป็นแนวป้องกันน้ำสีไม่ให้ซึมผ่านถึงกัน ซึ่งน้ำเทียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องซึมผ่านทะลุทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืนผ้าบาติกโดยไม่ให้เกิดช่องว่างขึ้นจากนั้นจึงทำให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพ้นท์สีหรือย้อมสีตามแต่กรณีสีบนผืนผ้าจะต้องซึมผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของผ้าบาติกทำให้ผู้สวมใส่ภาคภูมิใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเป็นชิ้น





        ที่มา https://sites.google.com/site/tai33bangli/
 
 
                                                                
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น